TH l EN
facebook instagram youtube line

โปรโมชั่น

อีกหนึ่งความไว้วางใจ

เสริมจมูก
Line ID
line
Facebook
facebook

กินเท่าไรก็ไม่อ้วน ระวังให้ดี อาจมี 9 โรคนี้ซ่อนอยู่ !

อย่าเพิ่งอิจฉาคนที่กินเท่าไรก็ไม่อ้วน และสำหรับคนที่มีอาการแบบนี้ก็อย่าเพิ่งดีใจที่กินเท่าไรก็ไม่อ้วนด้วยเช่นกันค่ะ เพราะจริง ๆ แล้วสาเหตุที่ทำให้เรากินเยอะได้ขนาดนี้ แต่น้ำหนักยังอยู่กับที่หรือไม่เพิ่มขึ้นเลย ทั้ง ๆ ที่ก็ไม่ได้กำลังลดน้ำหนักหรือเป็นโรคกลัวอ้วน นั่นอาจมีเบื้องหลังเป็นปัญหาสุขภาพอยู่ก็ได้ โดยคนที่กินเท่าไรก็ไม่อ้วน อาจเป็นเพราะอย่างนี้


1. มีพยาธิเยอะเกินไป

          หากในร่างกายมีพยาธิสะสมอยู่มาก พยาธิเหล่านี้จะแย่งอาหารที่เรากินเข้าไปจนทำให้เรากินเท่าไรก็ไม่อ้วนขึ้น โดยเบื้องต้นเราสามารถสังเกตอาการตัวเองได้ว่าหากมีอาการปวดท้องอยู่เป็นประจำ ท้องเสียบ่อย ๆ กินอาหารได้เยอะแต่น้ำหนักไม่ขึ้น อันดับแรกอาจต้องปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจอุจจาระดูพยาธิในลำไส้ ซึ่งแพทย์อาจให้ลองกินยาถ่ายพยาธิดูก่อน เพื่อเป็นการเช็กด้วยว่าหากถ่ายพยาธิเรียบร้อยแล้วจะมีอาการกินเท่าไรก็ไม่อ้วนอยู่อีกไหม และถ้ายังคงเป็นอยู่ก็ควรต้องเช็กสาเหตุอื่น ๆ ต่อไป

กินเท่าไรก็ไม่อ้วน

2. โหมออกกำลังกายมากเกินไป

          เคสนี้อาจจะมีน้อยแต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีซะทีเดียวค่ะ เพราะบางคนมีอาการเสพติดการออกกำลังกายเป็นอย่างมาก เรียกได้ว่าว่างเมื่อไรต้องออกกำลังกายเรียกเหงื่ออยู่ตลอด ซึ่งนอกจากจะทำให้ร่างกายรู้สึกอ่อนเพลียแล้ว กับบางคนยังมีอาการกินเท่าไรก็ไม่อ้วนขึ้นด้วยค่ะ

 กินเท่าไรก็ไม่อ้วน

3. ขาดสารอาหาร

          ในกรณีที่คุณเป็นคนรักสุขภาพ (แบบผิด ๆ) เน้นกินแต่อาหารประเภทผักผลไม้เป็นส่วนใหญ่ พร้อมทั้งไม่เน้นกินแป้งหรือเนื้อสัตว์ตามสัดส่วนที่ร่างกายควรได้รับ ก็อาจทำให้ร่างกายขาดสารอาหารที่จำเป็นบางอย่างได้ โดยเฉพาะสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมันจากเนื้อสัตว์ ซึ่งนอกจากจะกินเท่าไรก็ไม่อ้วนแล้ว ยังอาจจะมีอาการอ่อนเพลียไร้เรี่ยวแรงร่วมด้วย

4. ไทรอยด์เป็นพิษ    
     
          ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ หรือไฮเปอร์ไทรอยด์ มีสาเหตุมาจากระดับฮอร์โมนต่อมไร้ท่อในร่างกาย โดยอาจมีการกระตุ้นระบบเผาผลาญและฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานของร่างกายให้ทำงานอย่างขยันขันแข็งมากเกินไป ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของคนที่กินเท่าไรก็ไม่อ้วนขึ้นได้เช่นกัน ดังนั้นลองสังเกตอาการของตัวเองดูค่ะว่า นอกจากกินเยอะมากแต่ไม่อ้วนแล้ว ยังมีอาการนอนไม่หลับ ท้องเสียง่าย ตาโปน หรือหัวใจเต้นเร็วผิดปกติร่วมด้วยไหม ถ้าอาการตรงกับตัวเองอยู่หลายข้อ แนะนำให้รีบพบแพทย์เพื่อตรวจเช็กอีกทีจะดีกว่า

5. โรคชีแฮน ซินโดรม (Sheehan’s Syndrome)

          ส่วนใหญ่จะเกิดกับคุณแม่หลังคลอด ที่มีอาการตกเลือดรุนแรงระหว่างคลอดบุตร ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงต่อมใต้สมองไม่เพียงพอ ซึ่งบางแห่งของต่อมใต้สมองก็คือชีแฮน ซินโดรม ทำให้เนื้อบริเวณต่อมใต้สมองตายถาวร จนกระทบต่อการหลั่งฮอร์โมนไปควบคุมส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย รวมถึงการทำงานของต่อมไทรอยด์ที่อาจผิดปกติไปด้วย โดยคุณแม่บางคนจะมีอาการชีแฮน ซินโดรมหลังคลอดไม่กี่วัน หรือบางคนอาจคลอดผ่านมาแล้วเป็นปี ๆ จึงทราบว่าตัวเองมีภาวะชีแฮน ซินโดรมก็ได้ค่ะ ฉะนั้นหากเพิ่งมีอาการกินเท่าไรก็ไม่อ้วนหลังที่คลอดบุตรมาสักระยะแล้ว ก็อยากให้นึกถึงโรคนี้กันด้วยนะ
            
กินเท่าไรก็ไม่อ้วน

6. โรคเบาหวาน

          อาการโรคเบาหวานในระยะเริ่มต้น อาจสังเกตได้ว่าผู้ป่วยจะกินอาหารได้เยอะแต่น้ำหนักก็ไม่เพิ่มขึ้นเท่าไร ซึ่งอาจสังเกตอาการปัสสาวะบ่อยขึ้น น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็วร่วมด้วยก็ได้ เนื่องจากร่า­­งกาย­­ของผู้ป่วยเบาหวานจะมีระดับอินซูลินในเลือดมาก เมื่อร่างกายได้รับน้ำตาลเข้าไปจึงเกิดกระบวนการขับถ่ายน้ำตาลไปทางปัสสาวะ ทำให้เข้าห้องน้ำบ่อยขึ้น และส่งผลให้ไตทำงานหนักขึ้น ร่างกายก็เกิดกระบวนการเผาผลาญแคลอรีมากขึ้นไปด้วยในตัว

          นอกจากนี้เมื่อร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้ ร่างกายก็จะเหมือนอยู่ในสภาวะขาดอาหารและเริ่มดึงโปรตีนจากกล้­­­­ามเนื้อมาใช้เป็นพลังงานแทน ทำให้ดูผอมซูบลงอย่างเห็นได้ชัด

7. โรคเรื้อรัง

          โรคเรื้อรังบางชนิดอย่างวัณโรค อาจเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยกินเท่าไรก็ไม่อ้วนได้ ดังนั้นหากมีอาการไอเรื้อรัง ไอมีเลือดปน และมักจะเป็นไข้เหงื่อออกตอนกลางคืนบ่อย ๆ แนะนำให้รีบปรึกษาแพทย์โดยด่วนค่ะ

กินเท่าไรก็ไม่อ้วน

8. โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (IBD)

          ถ้ากินเยอะมาก ๆ แล้วก็ยังไม่อ้วน แถมยังเป็นคนที่ถ่ายคล่องผิดปกติ เหมือนลำไส้ต่อตรง กินแล้วถ่าย ๆ อย่างนี้ อาจต้องสงสัยถึงภาวะของโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Irritable bowel disease) ซึ่งโดยส่วนมากแล้วจะพบว่าผู้ป่วยโรคนี้มีภาวะน้ำหนักลดหรืออ้วนยากร่วมด้วย

9. โรคมะเร็ง

          ภาวะโรคมะเร็งบางชนิดอาจทำให้ร่างกายสะสมแคลเซียมไว้สูงผิดปกติ หรืออาจทำให้เกิดภาวะพาราไทรอยด์ทำงานหนักเกินไป ส่งผลให้ระบบเผาผลาญขยันจนกินอาหารเท่าไรก็เบิร์นได้ไวไปซะหมด ซึ่งก็จะทำให้ผู้ป่วยผอมซูบลงไปด้วยนั่นเอง

          อย่างไรก็ตาม อาการกินเท่าไรก็ไม่อ้วนอาจเป็นเพราะพันธุกรรม ซึ่งเคสนี้ก็จะมีพ่อ แม่ พี่ น้อง ปู่ ย่า ตา ยาย เป็นคนผอมเกือบทั้งหมด หรือบางคนอาจมีระบบเผาผลาญที่ทำงานได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากเนื่องจากมียีนที่กระตุ้นการทำงานของเมตาบอลิซึม ซึ่งก็จะไม่อันตรายต่อสุขภาพแต่อย่างใด ทว่าเราก็ไม่ควรจะวินิจฉัยความผิดปกติในร่างกายด้วยตัวเองนะคะ ถ้าอยากให้ชัวร์ก็ควรปรึกษาแพทย์โดยตรงจะดีกว่า

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
 
น.พ.สันต์ ใจยอดศิลป์
livestrong